การคิดคำนวณเงินบำนาญโดยประมาณ... |
1. กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข. |
|
|
2. กรณีเป็นสมาชิก กบข. |
* คำนวณเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย |
|
|
คำนวณกรณีเป็นสมาชิก กบข. |
|
|
3. กรณีข้าราชการบำนาญยอดเงินที่สมาชิกได้รับจาก กบข. (วันเกษียณอายุ) |
|
|
4. บำเหน็จตกทอด |
|
|
* เงินที่ได้รับจากรัฐ คือ |
|
|
* กรอกข้อมูลเฉพาะช่องที่มีข้อความ |
สมาชิก กบข. ภาคสมัครใจ เลือกรับบำนาญสูตรเดิมได้ภายในปี 58
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ (ฉบับที่....)
พ.ศ.......... โดยให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่เข้ารับราบการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540
และสมัครเป็นสมาชิก กบข. เลือกกลับไปใช้สิทธิรับบำเหน็จบำนาญตาม พ.ร.บ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ได้
ข้าราชการที่เป็น สมาชิก กบข. โดยสมัครใจ หากเลือกกลับไปใช้ระบบบำนาญแบบเดิม ขอให้แสดงความประสงค์ตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยจะได้รับเงินสะสม และดอกผลคืนจาก กบข. ตั้งแต่
วันที่ 1 ตุลาคม 2557 แต่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวหลังออกจากราชการ
และมีสิทธิเลือกรับบำนาญ จะได้รับบำนาญสูตรเดิมจนถึงวันที่เสียชีวิต ส่วนข้าราชการที่จะขอลาออก หรือถูกสั่งให้ออก จะใช้สิทธิเลือกได้ไม่เกินวันที่จะออกจากราชการ
สำหรับผู้รับบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. สามารถแสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญสูตรเดิมย้อนหลังตั้งแต่วันที่ออกจากราชการถึงวันที่ 30 กันยายน 2557
แต่ต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบและดอกผลของเงินดังกล่าวให้กับทางราชการ โดยวิธีหักกลบลบกัน หากมีส่วนต่างที่ผู้รับบำนาญต้องชำระคืน ให้ชำระคืนแก่ส่วนราชการผู้เบิกเพื่อส่งต่อให้กรมบัญชีกลางภายใน 30 มิถุนายน 2557 แต่หากมีส่วนต่างที่รัฐต้องจ่ายคืน ให้จ่ายคืนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ หากผู้รับบำนาญที่แสดงความประสงค์ไว้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์ไม่มีผลใช้บังคับ นอกจากนี้ข้าราชการที่เดิมไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก กบข. หากต้องการเปลี่ยนใจมาสมัครเข้าเป็นสมาชิก กบข. ก็สามารถเลือกสมัครเข้าได้ในครั้งนี้เช่นกัน
|
|
|
|
|