เงินกู้สามัญ (ส)

                                                                                        Download ระเบียบ (ฉบับที่ 1)
                                                                                        Download ระเบียบ (ฉบับที่ 2)
                                                                                        Download ระเบียบ (ฉบับที่ 3)

      เงินกู้สามัญ   โดยใช้หุ้นค้ำประกันหรือบุคคลค้ำประกัน

      ก. เงินกู้สามัญที่กู้ไม่เกินเงินค่าหุ้นหรือเงินฝากที่มีอยู่กับสหกรณ์ ต้องไม่มีหนี้เงินกู้สามัญอื่นและต้องเป็นตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
            1. กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ หรือกู้ได้ไม่เกินร้อยละ
                 90 ของเงินฝาก หรือ กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินค่าหุ้นและเงินฝากที่มีอยู่
                 กับสหกรณ์
            2. สมาชิกขอกู้เงินเกินกว่าวงเงินกู้ 3,000,000 บาท คณะกรรมการดำเนินการอาจ
                 พิจารณาให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินค่า
                 หุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ หรือกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินฝาก หรือกู้ได้ไม่เกิน
                 ร้อยละ 90 ของเงินค่าหุ้นและเงินฝากที่มีอยู่กับสหกรณ์

      ข. เงินกู้สามัญโดยใช้บุคคลค้ำประกัน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
            1. กู้ได้รายละไม่เกิน 3,000,000 บาท
            2. กรณีกู้เงินครั้งแรก
                -  สมาชิกที่เข้าใหม่และ/หรือ สมาชิกโอนระหว่างสหกรณ์ ต้องส่งเงินค่าหุ้นมา
                   แล้ว ไม่น้อยกว่า 1 เดือน และต้องผ่านการอบรมสมาชิกเข้าใหม่แล้วจึงจะมี
                   สิทธิกู้ได้ตามระเบียบ
                -  สมาชิกที่เข้าใหม่ กรณีที่ออกครั้งสุดท้ายโดยการโอนออก ต้องส่งเงินค่าหุ้น
                   มาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน จึงจะมีสิทธิกู้ได้
                -  สมาชิกที่กู้ครั้งแรก กรณีเคยถูกโอนให้ออกให้นำเสนอที่ประชุมคณะ
                   กรรมการดำเนินการพิจารณา
            3. ต้องมีเงินค่าหุ้น ดังนี้
                -  สมาชิกที่สมัครเป็นสมาชิกก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2557 โดยใช้บุคคลค้ำประกัน
                   ต้องมีเงินค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 23 ของเงินกู้
                -  สมาชิกที่สมัครเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2557 เป็นต้นไป โดยใช้บุคคล
                   ค้ำประกัน ต้องมีเงินค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของเงินกู้
                * ซึ่งหุ้นดังกล่าวนี้อาจเป็น หุ้นโดยการชำระปกติ หรือหุ้นที่เกิดจากการซื้อ หรือ
                   การหักหุ้นจากเงินกู้

            4. การส่งชำระหนี้
                -  ส่งชำระหนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 300 งวด
                -  สมาชิกที่เป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้บุคคลค้ำประกัน
                   การส่งชำระหนี้สำหรับการกู้เงินสามัญครั้งแรกและครั้งต่อไป ให้ส่งชำระหนี้
                   ได้สูงสุดไม่เกิน 300 งวด โดยการคำนวณให้นำหุ้นไปหักกลบลบหนี้ทั้งหมด
                   ณ วันที่อนุมัติเงินกู้ได้ แต่ทั้งนี้สมาชิกต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นในวันที่เกษียณ
                   อายุราชการ และจำกัดการใช้สิทธิค้ำประกันสำหรับสมาชิกพนักงานใน
                   สถาบันอุดมศึกษาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

      ค. เงินกู้สามัญสำหรับสมาชิกสังกัดโรงเรียนเอกชน ให้กู้ได้ ดังนี้
            1. เป็นสมาชิกที่ส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนจึงมีสิทธิยื่นกู้
                ได้
            2. การให้เงินกู้สมาชิกต้องให้ความยินยอม ตามข้อ ง (7)
                -  อายุการเป็นสมาชิก ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ให้กู้ได้ไม่เกิน 400,000 บาท
                -  อายุการเป็นสมาชิก ตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไป ให้กู้ได้ไม่เกิน 500,000 บาท
                -  อายุการเป็นสมาชิก ตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป ให้กู้ได้ไม่เกิน 600,000 บาท
                * สำหรับสมาชิกที่มีวงเงินกู้เดิมเกินที่กำหนดไว้ ให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินกู้ครั้งก่อน
            3. ได้รับความเห็นชอบให้กู้ จากผู้ได้รับใบอนุญาต
            4. แสดงหลักฐานการหักเงินเดือนเดือนล่าสุด และหนังสือรับรองการเป็นครู
                เอกชนโดยผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับรอง
            5. สมาชิกผู้กู้อาจเสนอกรมธรรม์ประกันชีวิต/ประกันภัยกลุ่ม หรือกรมธรรม์ประกัน
                ภัยคุ้มครองสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ก็ได้
            6. การส่งชำระหนี้สำหรับการกู้สามัญครั้งแรกและครั้งต่อไปให้ส่งชำระหนี้ได้
                สูงสุดไม่เกิน 300 งวด โดยการคำนวณ ให้นำหุ้นไปหักกลบลบหนี้ทั้งหมด ณ
                วันที่อนุมัติเงินกู้ได้ แต่ทั้งนี้สมาชิกต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในอายุ 60 ปี

      ง. คุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอกู้เงินสามัญ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
            1. สมาชิกต้องมีบุคคลค้ำประกัน, สิทธิการถอนเงินฝากที่มีอยู่กับสหกรณ์ ค้ำ
                ประกัน ตามระเบียบสหกรณ์
            2. สมาชิกผู้กู้อาจเสนอกรมธรรม์ประกันชีวิต/ประกันภัยกลุ่ม หรือ กรมธรรม์ประกัน
                ภัยคุ้มครองสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ก็ได้
            3. สมาชิกที่ยื่นกู้เงินสามัญ ตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไปต้องขอใบรับรองหนี้จาก
                สถาบันการเงินอื่นทุกราย โดยให้แสดงสถานะของบัญชีด้วย
            4. กรณีสมาชิกข้าราชการบำนาญที่มีอายุเกิน 75 ปี ขึ้นไป ให้กู้ได้ไม่เกินเงินค่า
                หุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์รวมกับเงินสวัสดิการที่สมาชิกได้รับ
            5. การให้เงินกู้ครั้งต่อไป ถ้าคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรจะให้เงินกู้สามัญ
                แก่สมาชิกที่ยังส่งคืนเงินกู้สามัญไม่ครบตามกำหนดสัญญาก็ได้ เมื่อสมาชิกได้
                รับเงินกู้สามัญครั้งต่อไปให้นำหนี้ที่เหลือหักกลบลบหนี้ให้เสร็จไป โดยสมาชิก
                ต้องส่งเงินงวดชำระหนี้ ดังนี้
                 -  กรณีสัญญาเดิม ที่กู้ไม่เกินเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ การกู้ครั้งต่อไป
                    ในกรณีที่ยังมีหนี้ประเภทนี้ค้างชำระ จะได้รับการพิจารณาเมื่อส่งเงินงวด
                    ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 งวด
                 -  กรณีสัญญาเดิมใช้บุคคลค้ำประกันการกู้เงินครั้งต่อไป ในกรณีที่ยังมีหนี้
                    ประเภทนี้ค้างชำระจะได้รับการพิจารณาเมื่อส่งเงินงวดชำระหนี้ มาแล้ว
                    ไม่น้อยกว่า 3 งวด
                 -  กรณีสัญญาเดิมใช้บุคคลค้ำประกัน การกู้เงินครั้งต่อไปเป็นกรณีที่กู้ไม่เกิน
                    เงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ จะได้รับการพิจารณาเมื่อส่งเงินงวดชำระหนี้มา
                    แล้วไม่น้อยกว่า 1 งวด
                 -  สมาชิกสมทบ กู้เงินสามัญที่กู้ไม่เกินเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ ส่งชำระหนี้
                    ไม่เป็นปกติ แต่มาชำระหนี้ครบถ้วนไม่มียอดค้างชำระมีสิทธิกู้ได้
                 -  สมาชิกสมทบ กู้เงินสามัญที่กู้ไม่เกินเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ ส่งชำระหนี้
                    ไม่เป็นปกติ แต่มาชำระหนี้ครบถ้วนไม่มียอดค้างชำระมีสิทธิกู้ได้
            6. การกำหนดเงินเดือนคงเหลือ
                 -  สมาชิกที่ยื่นขอกู้สามัญโดยบุคคลค้ำประกัน ต้องแสดงหลักฐานการหักเงิน
                    เดือนย้อนหลัง 3 เดือนโดยมีผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเป็นผู้รับรอง
                 -  สมาชิกต้องส่งชำระหนี้คืน โดยต้นเงินเท่ากันทุกงวดพร้อมดอกเบี้ย กำหนด
                    เงินเดือนคงเหลือต้องคำนวณสัดส่วนหนี้สินรายเดือนต่อเงินได้รายเดือนไม่
                    เกินร้อยละ 70 ตลอดอายุสัญญา
                 -  สมาชิกที่ยื่นขอกู้สามัญที่กู้ไม่เกินเงินค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์ หากยังมี
                    ภาระหนี้สินผูกพันกับสหกรณ์ จะต้องแสดงหลักฐานการหักเงินเดือนย้อน
                    หลัง 3 เดือน โดยมีผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเป็นผู้รับรอง กำหนดเงินเดือนคง
                    เหลือต้องคำนวณสัดส่วนหนี้สินรายเดือนต่อเงินได้รายเดือนไม่เกิน
                    ร้อยละ 70 ตลอดอายุสัญญา
            7. สมาชิกที่ขอกู้เงินกับสหกรณ์จะต้องยินยอมให้สหกรณ์เปิดเผยข้อมูลการเป็น
                หนี้ให้กับสถาบันการเงินอื่น ๆ ได้ตามที่สถาบันการเงินนั้นร้องขอ

          * หากขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใด ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการ *

      จ. หลักประกันเงินกู้สามัญ
            1. หลักประกันสำหรับเงินกู้สามัญที่กู้ไม่เกินเงินค่าหุ้นและหรือเงินฝากที่มีอยู่กับ
                สหกรณ์ ถ้าเงินกู้สามัญรายนั้นมีจำนวนไม่เกินกว่าเงินค่าหุ้นและหรือเงินฝากที่
                มีอยู่กับสหกรณ์ ก็ไม่ต้องมีหลักประกันอย่างอื่นอีก โดยเงินฝากประทับตราติด
                ค้ำประกันเท่าจำนวนเงินที่ขอกู้สามัญและให้กู้ได้ทันทีในวันทำการสหกรณ์นั้น
                หรือให้อยู่ในลำดับแรกของการพิจารณาแต่ละครั้ง
            2. การเรียกหลักประกันเงินกู้สามัญ โดยใช้บุคคลค้ำประกัน ในส่วนที่เกินทุนเรือน
                หุ้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แห่งจำนวนเงินกู้ ดังนี้
                 - เงินกู้ทุก 320,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน 1 คน
                 - ส่วนเกินที่ไม่ครบ 320,000 บาท ให้เพิ่มบุคคลค้ำประกันอีก 1 คน บุคคลค้ำ
                    ประกันตามข้อนี้ให้ข้าราชการได้เพียงคนเดียวต่อสัญญาเงินกู้หนึ่งฉบับ
                 * กรณีกู้เงินสามัญตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป ให้มีบุคคลค้ำประกัน 5 คน
            3. กรณีผู้กู้เป็นสมาชิกสังกัดเอกชน ให้มีหลักประกันเงินกู้สามัญ ดังนี้
                 - เงินกู้ทุก 300,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน 1 คน
                 - ส่วนเกินที่ไม่ครบ 300,000 บาท ให้เพิ่มบุคคลค้ำประกันอีก 1 คน

      ฉ. การใช้สิทธิค้ำประกันเงินกู้สามัญ  
            1. กรณีสมาชิกข้าราชการครู
                 - มีเงินหุ้น 10 - 200,000 บาท ค้ำประกันได้ 2 คน
                 - มีเงินหุ้น 200,010 - 250,000 บาท ค้ำประกันได้ 3 คน
                 - มีเงินหุ้น 250,010 - 350,000 บาท ค้ำประกันได้ 4 คน
                 - มีเงินหุ้น 350,010 บาท ขึ้นไป ค้ำประกันได้ 5 คน
            2. กรณีสมาชิกซึ่งเป็นครูตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนให้สิทธิการค้ำ
                ประกันเงินกู้สามัญ ดังนี้
                 - ในฐานะผู้ค้ำประกัน
                       - มีเงินหุ้น 10 - 200,000 บาท ค้ำประกันได้ 1 คน
                       - มีเงินหุ้น 200,010 - 300,000 บาท ค้ำประกันได้ 2 คน
                       - มีเงินหุ้น 300,010 บาท ขึ้นไป ค้ำประกันได้ 3 คน
                 - ในฐานะผู้กู้ จะต้องใช้สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการมาค้ำประกันจำนวนไม่น้อย
                    กว่า 1 คน ในวงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท และไม่น้อยกว่า 2 คน ในวงเงินกู้
                    ที่เกิน 300,000 บาทขึ้นไป

      ช. เอกสารประกอบคำขอกู้เงินสามัญ  
            1. คําขอกู้เงินสามัญ
            2. หนังสือยินยอมหักชำระหนี้ 2 แผ่น
            3. หนังสือยินยอมทำประกันภัยคุ้มครองสินเชื่อ (กรณีกู้เกิน 2,000,000 บาท)
                2 แผ่น พร้อมสำเนาบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด และใบรับรองแพทย์โรง
                พยาบาลของรัฐฯ เท่านั้น
            4. หน้าสมุดบัญชีธนาคาร สำหรับโอนเงินกู้ส่วนที่เหลือเข้าบัญชีให้สมาชิก
            5. สลิปเงินเดือนของผู้กู้ 3 เดือน ย้อนหลัง โดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรับรอง
                ดังนี้
                 - กรณีข้าราชการครู ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนรับรองสลิป
                 - กรณีข้าราชการครูสังกัดเทศบาล ให้ผู้อำนวยการกองคลังรับรองสลิป
                 - กรณีข้าราชการบำนาญสังกัด อบจ. ให้หัวหน้าฝ่ายการเงินหน่วย
                   อบจ. รับรองสลิป
                 - กรณีข้าราชการบำนาญ ให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษารับรองสลิป
                   หรือ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารหารเงินและ สินทรัพย์
                 - กรณีครูโรงเรียนเอกชน ให้ผู้รับใบอนุญาตรับรองสลิป
            6. บัตรประจำตัวของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน พร้อมสำเนา
            7. ทะเบียนบ้านของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน พร้อมสำเนา
            8. บัตรประจำตัวของคู่สมรสผู้กู้และผู้ค้ำประกัน พร้อมสำเนา
            9. ทะเบียนบ้านของผู้สมรสผู้กู้และผู้ค้ำประกัน พร้อมสำเนา
            10. ใบทะเบียนสมรสของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน พร้อมสำเนา
            11. ใบทะเบียนหย่าของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน พร้อมสำเนา
            12. ใบเปลี่ยนชื่อสกุล(ถ้ามี) พร้อมสำเนา
            13. กรณีกู้เงินสามัญตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ให้แนบหนังสือรับรองหนี้จาก
                  ธนาคารออมสิน
            14. กรณีข้าราชการบำนาญ ให้แนบหนังสือรับรองเงินบำนาญปัจจุบัน
            15. กรณีครูโรงเรียนเอกชน ให้แนบเอกสารเพิ่ม 6 ฉบับ ดังนี้
                 - หนังสือจัดตั้งโรงเรียน
                 - หนังสือแต่งตั้งครูใหญ่
                 - หนังสือใบแต่งตั้งให้ทำการแทนครูใหญ่ (ถ้ามี)
                 - ใบบรรจุครู
                 - ใบอนุญาตให้เป็นครู
                 - ใบรับรองเงินเดือนปัจจุบัน
            16. กรณีพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
                 - คำสั่งเรื่องการจ้าง
                 - สัญญาจ้าง

   

*****************